วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 10 เรื่อง รูปแบบของคำสั่ง HTML


โครงสร้างของภาษา HTML



การเขียนโฮมเพจด้วยภาษา HTML นั้น เอกสาร HTML จะประกอบด้วยส่วนประกอบ2 ส่วน ดังนี้



1. ส่วน Head คือส่วนที่จะเป็นหัว (Header) ของหน้าเอกสารทั่วไป หรือส่วนชื่อเรื่อง(Title) ของหน้าต่างการทำงานในระบบ Windows
2. ส่วน Body จะเป็นส่วนเนื้อหาของเอกสารนั้น ๆ ซึ่งจะประกอบด้วย Tag คำสั่งในการจัดรูปแบบ หรือตกแต่งเอกสาร HTML


ในทั้งสองส่วนนี้จะอยู่ภายใน Tag <HTML>…</HTML> ดังนี้

<html>


<head> <title> ส่วนชื่อเอกสาร </title> </head>




<body>


tag คำสั่ง




</body>


</html>

คำสั่ง หรือ Tag ที่ใช้ในภาษา HTML ประกอบไปด้วยเครื่องหมายน้อยกว่า"<" ตามด้วย ชื่อคำสั่งและปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่า ">" เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ตกแต่งข้อความ เพื่อ การแสดงผลข้อมูล โดยทั่วไปคำสั่งของ HTML ส่วนใหญ่จะอยู่เป็นคู่ มีเพียงบาง คำสั่งเท่านั้น ที่มีรูปแบบคำสั่งอยู่เพียงตัวเดียว ในแต่ละคำสั่ง จะมีคำสั่งเปิดและปิด คำสั่งปิดของแต่ละ คำสั่งจะมี รูปแบบเหมือนคำสั่งเปิด เพียงแต่จะเพิ่ม "/" (Slash) นำหน้าคำสั่ง ปิดให้ดู แตกต่าง เท่านั้น และในคำสั่งเปิดบางคำสั่ง อาจมีส่วนขยายอื่นผสมอยู่ด้วย

ในการเขียนคำสั่งภาษา HTML สามารถเขียน ด้วยตัวอักษร เล็กหรือใหญ่ ทั้งหมดหรือเขียนคละกันได้ เช่น <HTML> หรือ <Html> หรือ <html> ซึ่งจะให้ผลเหมือนกัน


คำสั่งเริ่มต้นของเอกสาร HTML

<HTML>..........</HTML>

คำสั่ง <HTML> เป็นคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรมและคำสั่ง </HTML> เป็นการสิ้นสุดโปรแกรม HTML คำสั่งนี้จะไม่แสดงผลในโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ แต่ต้องเขียนเพื่อให้เกิดความเป็นระบบของงาน และเพื่อจะให้รู้ว่าเอกสารนี้เป็นเอกสารของภาษา HTML ส่วนหัวเรื่องเอกสารเว็บ (Head Section)

<HEAD>..........</HEAD>

Head Section เป็นส่วนที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลเฉพาะของหน้าเว็บนั้น ๆ เช่น ชื่อเรื่องของหน้าเว็บ (Title), ชื่อผู้จัดทำเว็บ(Author), คีย์เวิร์ดสำหรับการค้นหา (Keyword) โดยมี Tag สำคัญ คือ

<TITLE>..........</TITLE >

ข้อความที่ใช้เป็น TITLE ไม่ควรพิมพ์เกิน 64 ตัวอักษร, ไม่ต้องใส่ลักษณะ

พิเศษ เช่น ตัวหนา เอียง หรือสี และควรใช้ภาษาที่มีความหมายครอบคลุม

ถึงเนื้อหาของเว็บเพจ นั้น หรือเป็นคำสำคัญในการค้นหา (Keyword)

<BODY>..........</BODY>

Body Section เป็นส่วนเนื้อหาหลักของหน้าเว็บ ซึ่งการแสดงผลจะต้องใช้ Tag จำนวนมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล เช่น ข้อความ, รูปภาพ, เสียง, วีดิโอ หรือไฟล์ต่างๆส่วนเนื้อหาเอกสารเว็บ เป็นส่วนการทำงานหลักของหน้าเว็บ ประกอบด้วย Tag มากมายตามลักษณะของข้อมูล ที่ต้องการนำเสนอ การป้อนคำสั่งในส่วนนี้ ไม่มีข้อจำกัดสามารถป้อนติดกัน หรือ 1 บรรทัดต่อ 1 คำสั่งก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะยึดรูปแบบที่อ่านง่าย คือ การทำย่อหน้าในชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ให้ป้อนคำสั่งทั้งหมดภายใต้ Tag <BODY> … </BODY>


ในบทเรียนนี้ได้ทำการจัดเนื้อหาสำหรับการสร้างโฮมเพจด้วยภาษา HTMLสำหรับกลุ่มคำสั่งได้ดังนี้

1. กลุ่มคำสั่งจัดรูปแบบตัวอักษร
2. กลุ่มคำสั่งการจัดรูปแบบเอกสาร
3. กลุ่มคำสั่งจัดการรูปภาพ

4. กลุ่มคำสั่งการจัดรูปแบบฉากหลัง
5. กลุ่มคำสั่งจัดการตาราง
6. กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการเชื่อมโยง



สรุป


<HTML>....</HTML> คำสั่งเริ่มต้น คำสั่ง html เป็นคำสั่งเริ่มการเขียน
<HEAD>....</HEAD> เป็นส่วนหัวของเว็บเพจ บอกคุณสมบัติของเว็บเพจ

<TITLE>....</TITLE> ใช้บอกชื่อของเว็บเพจ

<BODY>....</BODY> เป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่แสดงเนื้อหา

ทั้งหมด อาจรวมถึง ข้อความ รูปภาพ ตาราง



การเชื่อมโยง

คำสั่งในภาษา HTML



คำสั่งพื้นฐาน



< !-- ข้อความ --> คำสั่ง หมายเหตุ ใช้อธิบายความหมาย ขื่อผู้เขียนโปรแกรม และอื่นๆ

<br> คำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่

<p> ข้อความ </p> คำสั่งย่อหน้าใหม่

<hr width="50%" size = "3"> คำสั่ง ตีเส้น, กำหนดขนาดเส้น

&nbsp; คำสั่ง เพิ่มช่องว่าง

<IMG SRC = "PHOTO.GIF"> คำสั่งแสดงรูปภาพชื่อ Photo.gif

<CENTER> ข้อความ </CENTER> คำสั่งจัดให้ข้อความอยู่กึ่งกลาง

<HTML> </HTML> คำสั่ง <HTML> คือคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม HTML และมีคำสั่ง </HTML> เพื่อบอกจุดสิ้นสุดโปรแกรม

<HEAD> </HEAD> คำสั่ง <HEAD> คือคำสั่งบอกส่วนที่เป็นชื่อเรื่อง โดยมีคำสั่งย่อย <TITLE> อยู่ภายใน

<TITLE> </TITLE> คำสั่ง <TITLE> คือคำสั่งบอกชื่อเรื่อง จะไปปรากฏที่ Title Bar

<BODY> </BODY> คำสั่ง <BODY> คือคำสั่งบอกส่วนเนื้อเรื่อง ที่จะถูกแสดงผลในเวปบราวเซอร์ ประกอบด้วยรูปภาพ ตัวอักษร ตาราง เป็นต้น


รูปแบบตัวอักษร



<font size = "3"> ข้อความ </font> ขนาดตัวอักษร

<font color = "red"> ข้อความ </font> สีตัวอักษร

<font face = "Arial"> ข้อความ </font> รูปแบบตัวอักษร

<besefont size = "2"> ข้อความ </font> กำหนดค่าเริ่มต้นของขนาดตัวอักษร

<b> ข้อความ </b> ตัวอักษรหนา

<i> ข้อความ </i> ตัวอักษรเอน

<u> ข้อความ </u> ขีดเส้นใต้ตัวอักษร

<tt> ข้อความ </tt> ตัวอักษรแบบพิมพ์ดีด




หมายเหตุ เราสามารถใช้คำสั่งกำหนดรูปแบบตัวอักษร หลายๆรูปแบบได้ เช่น

<font face = "Arial" size = "3" color = "red"> ข้อความ </font> เป็นต้น




จุดเชื่อมโยงข้อมูล


<a href ="#news"> Hot News </a> ,

<a name ="news"> กำหนดจุดเชื่อมชื่อ news ส่วน "a name" คือตำแหน่งที่ลิงค์ไป (เอกสารเดียวกัน)

<a href ="news.html"> Hot News </a> สร้างลิงค์ไปยังเอกสารชื่อ "news.html"

<a href ="http://www.thai.com"> Thai </a> สร้างลิงค์ไปยังเวปไซท์อื่น

<a href ="http://www.thai.com" target = "_blank" > Thai </a> สร้างลิงค์ไปยังเวปไซท์อื่น และเปิดหน้าต่างใหม่

<a href ="http://www.thai.com"> <img src = "photo.gif"> </a> สร้างลิงค์โดยใช้รูปภาพชื่อ photo.gif เป็นตัวเชื่อม

<a href ="mailto:yo@mail.com"> Email </a> สร้างลิงค์มายังอีเมล


การแสดงผลแบบรายการแบบมีหมายเลขกำกับ


<OL value = "1" >

<LI> รายการที่ 1

<LI> รายการที่ 2

</OL>

การแสดงผลแบบรายการ ใช้คำสั่ง <OL> เป็นเริ่มและปิดท้ายด้วย </OL> ส่วนคำสั่ง <LI> เป็นตำแหน่งของรายการที่ต้องการนำเสนอ เราสามารถกำหนดให้แสดงผลรายการได้หลายแบบเช่น เรียงลำดับ 1,2,3... หรือ I,II,III... หรือ A,B,C,... ได้ทั้งนี้จะต้องเพิ่มคำสั่งเข้าไปที่ <OL value = "A"> เป็นต้น




การแสดงผลแบบรายการแบบมีสัญลักษณ์กำกับ


<UL type = "square">

<LI> รายการที่ 1

<LI> รายการที่ 2

</UL>

การแสดงผลแบบรายการ ใช้คำสั่ง <UL> เป็นเริ่มและปิดท้ายด้วย </UL> ส่วนคำสั่ง <LI> เป็นตำแหน่งของรายการ ที่ต้องการนำเสนอ เราสามารถกำหนดให้แสดงผลรายการแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้




- รูปวงกลมทึบ "disc"

- รูปวงกลมโปร่ง "circle"

- รูปสี่เหลี่ยม "square"




ได้ทั้งนี้จะต้องเพิ่มคำสั่งเข้าไปที่ <UL type = "square"> เป็นต้น




ที่มา : http://www.education.preecha.net/ht.html
ที่มา : https://pirun.ku.ac.th/~agrtnk/web/units/unit1/unit1-3.htm



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ใบงานเรื่อง ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์

1.ชื่อโครงงาน ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยมือถือผ่านบลูทูธ 2.สรุปผล การทดลองเขียนโปรแกรมใส่ไมโครคอนโทรลเลอร์ทดลองควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรับ ข...